อุดม กวัสสราภรณ์ พระเครื่องเป็นเพียง .... "สมบัติผลัดกันชม"
ตำนานรังพระในอดีตที่มี่ชื่อเสียงมีอยู่ 4 รังใหญ่ ๆ คือ
1. รังพระของครูเอื้อ สุนทรสนาน เจ้าของตำนานพระสมเด็จองค์ครูเอื้อ
(พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่)
2. รังพระของเจ้แจ๋ว เจ้าของสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์ องค์เจ้แจ๋ว
3. รังพระของท่านลพ ซึ่งเป็นพระภิกษุ ถือว่าเป็นรังที่มีพระพุทธรูปบูชา
ที่เก่าแก่จำนวนมาก และ
4. รังพระของคุณฉ่าหลี ยงสุนทร อดีตข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ
ถือว่าเป็นเจ้าของรังพระที่รู้จักกันดีในวงการพระโบราณ มีพระชุดเบญจภาคีชั้นนำอยู่นับสิบองค์
เช่น เจ้าของพระสมเด็จ วัดระฆังองค์ลุงพุฒ (ปัจจุบันอยู่กับโป๊ยเสี่ย) พระสมเด็จองค์ขุนศรี (พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่)
การสะสมพระในอดีตนั้นมีไม่มาก ทำให้ผู้สะสมมีพระให้ซื้อสะสมจำนวนมาก
และราคาก็ไม่แพง
นอกจากนี้แล้วยังมีเจ้าของรังพระที่มีชื่อเสียงอีกหลายรัง แต่ปัจจุบันกลายเป็นตำนานไปแล้วเช่นกันคือรังพระของเสถียร เสถียรสุต รังพระของอุดม กวัสราภรณ์ รังพระของชลอ รับทอง รังพระของมนตรี วงศ์วิรัช รังพระของอาจารย์นิยม อสุนี ณ อยุธยา รังพระของเชาว์ ริเวอร์ รังพระของ พล.ต.อ สนอง วัฒนวรางกูร
และรังพระของกำนันชูชาติ มากสัมพันธ์
ในจำนวนเจ้าของรังพระมีหลายท่านที่ถูกนำมาเรียกชื่อพระสมเด็จองค์ครูที่ครอบครองอยู่ในรัง เช่นพระสมเด็จ องค์คุณอุดม
(ประวัติเดิมเป็นพระสมเด็จฯ ในรังใหญ่ของ เสี่ยก้อนหน่ำ แซ่ใช้)
ซึ่งเป็นพระสมเด็จ
พิมพ์ใหญ่ วัดระฆัง ที่ทุกคนเมื่อพบเห็นต่างยกย่องกันว่าเป็นพระองค์สวยสมบูรณ์ที่สุดของวงการพระยากที่จะพระองค์อื่นใดมาเทียบเท่าได้
นายอุดม กวัสสราภรณ์ ที่คนในวงการนิยมเรียกว่า "เสี่ยดม" ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีความชำนาญในการพิจารณาพระเครื่องชุดเบญจภาคี
โดยเฉพาะพระสมเด็จฯ ระดับครูบาอาจารย์ของคนในวงการเลยทีเดียว
ทุกวันนี้แม้วัยของเสี่ยดมจะย่างเข้าเกือบ 80 ปี แล้วก็ตาม แต่ความจำและสายตายังเฉียบ มาดส่องพระยังดูทะมัดทะแมงเหมือนเซียนทั่วไป
พระองค์เด่นองค์แชมป์ทั้งเบญจภาคี มีวัดระฆังพิมพ์ทรงเจดีย์ยากหาตัวจับ
เทียบได้ก็ยังอยู่ พระเนื้อชิน เนื้อดินยอดนิยมไม่น้อยไม่กระเด็นออกนอกบ้าน รวมถึงพระบูชาสมัยเก่า ๆและส่วนมากจะมีภาพอยู่ในหนังสือ
ชาตรี ของอาจารย์ประชุม กาญจนวัฒน์
เสี่ยดม เล่าย้อนอดีตให้ฟังว่า อาชีพของพ่อและแม่ คือ รับซื้อและขายวัตถุโบราณ แต่พ่อไม่สนับสนุนให้เล่นพระครั้งหนึ่งเคยขอยืมเงินพ่อ 40,000 บาท
เพื่อเช่าพระสมเด็จ ท่านไม่ให้ การเล่นพระจึงเป็นในลักษณะแอบเล่น
โดยเริ่มสนใจพระตั้งแต่อายุ 18 ปี เดินเข้าสนามที่ศาลอาญา สมัยนั้นยังไม่มีสมาคมหรือชมรมพระ ตอนนั้นคนส่วนใหญ่ที่นิมยมพระ
จะเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม พวกคุณหลวง
คุณพระ เมื่อพักเที่ยงจะแวะเข้ามาที่นั่น หรือที่รู้จักกันในนาม บาร์มหาผัน รังพระใหญ่ ๆ ที่ขึ้นชื่อสมัยนั้นคือรังพระของคุณพระสุรีย์
รังพระของหม่อมเจ้าประสิทธิศักดิ์
ในสมัยนั้นยังไม่ได้มีการจัดหมวดพระเป็นชุดใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่มีใครรู้จักพระชุดเบญจภาคี มีเพียง 3 อย่างคือ พระสมเด็จ พระขุนแผน และพระนางพญา
ไม่มีใครรู้จักพระรอด พระผงสุพรรณ พระคงลำพูน
ที่ซื้อขายองค์ละเป็นแสนเป็นล้านในปัจจุบัน สมัยนั้นองค์ละ 5 บาทเท่านั้น ถ้าสวยหน่อยองค์ละ 10 บาททุกแผงริมถนนมีพระคงลำพูนขายเป็นของเล่น ไม่มีราคาค่างวดอะไร พระสมเด็จบางขุนพรหมองค์ละไม่กี่บาท
เมื่อ พ.ศ. 2500 ตลาดพระเครื่องมีแต่พระแท้ คนเป็นเจ้าของไม่หวง ขอกันดูง่าย ไม่เหมือนเดี๋ยวนี้ พระปลอมมีมากกว่าพระแท้
ในสมัยนั้นที่ขึ้นชื่อว่าแพงสุด คือ พระท่ากระดานราคาองค์ละ 5,000 บาท ในขณะที่พระสมเด็จวัดระฆัง ไม่ถึง 5,000 บาท พระนางพญา เลี่ยมทอง องค์ละ 200 บาท ส่วนพระกรุองค์ละประมาณ5 บาท รวมทั้งผงสุพรรณด้วย
เสี่ยดมบอกว่า ได้เปลี่ยนมาเล่นหาพระเบญจภาคี ประมาณ พ.ศ. 2510 สมัยนั้นมีเงินในกระเป๋า ซื้อพระสมเด็จแล้วเงินยังเหลือ
สื่อสิ่งพิมพ์มีแค่หนังสือของจ่าเปี๊ยก และหนังสือชาตรีของอาจารย์ประชุม กาญจนวัฒน์ ออกเป็นรายสัปดาห์ ทั้งนี้ได้จัดประกวดพระเครื่อง เมื่อ พ.ศ. 2516
น่าจะเป็นการจัดงานประกวดพระครั้งแรกเป็นเวลา 7 วัน 7 คืนที่วัดใหม่พระพิเรนทร์
ในครั้งนั้นหลวงพ่อคูณยังเป็นพระลูกวัดที่นี่ ให้หลังจากนั้นอีก 1 ปี
คือเมื่อ พ.ศ. 2517 ถูกปล้นพระเกือบหมดร้าน แต่อีก 3 วันต่อมา ตำรวจสามารถตามจับโจรที่มาปล้นได้
ได้พระคืนมาเกือบทั้งหมด ที่ไม่ได้คืนมีเพียง 42 องค์ ส่วนเรื่องราคานั้นไม่ต้องพูดถึงปัจจุบันถ้ายังอยู่ราคาหลักล้านทุกองค์
จากประสบการณ์ที่ใช้ชีวิตอยู่ในวงการมากกว่าครึ่งศตวรรษ เสี่ยดมพูดทิ้งท้ายไว้อย่างน่าคิดว่า พระเครื่องไม่มีตาชั่ง ต้องใช้ตาคนดูพระองค์เดียวกับคนหนึ่งดูแท้คนหนึ่งดูเก๊ เป็นเรื่องธรรมดา เพราะคนเราเรียนรู้
และมีพื้นฐานการดูพระไม่เหมือนกัน
พระประเภทหนึ่งที่เซียนต้องดูให้เป็นของแท้ตลอดการ คือ พระของ
ผู้ใหญ่ แต่คราวใดที่ผู้ใหญ่เอาพระออกมาขาย จะไมมีเซียนคนใดกล้าซื้อ มักจะแนะนำว่าให้ท่านเก็บไว้ใช้เองจะดีกว่า
ที่เป็นเช่นนี้เพราะพระของผู้ใหญ่ได้มาฟรี ๆ เมื่อเป็นของฟรี
จึงมีทั้งของดีและของไม่ดีคู่กัน
เป็นเรื่องธรรมดา สิ่งนี้ผู้ใหญ่ต้องทำใจยอมรับเช่นกัน ไม่น่าเชื่อว่าผู้ใหญ่บางท่านแขวนพระสมเด็จเก๊มากกว่า 30 ปี ก็เคยมีสมบัติผลัดกันชม
อย่าไปยึดติดว่าพระเครื่องจะเป็นของเรา
และอยู่กับเราไปตลอดชีวิต ให้คิดเสียว่าเป็นสมบัติผลัดกันชมเป็นทรัพย์เป็นสมบัติของแผ่นดินเป็นมรดกทางพุทธศาสนา ผมไม่เชื่อว่าจะมีรังพระไหนเป็นอมตะตลอดกาลนี่คือคำยืนยันของเสี่ยดม
พร้อมกันนี้ เสี่ยดม ยังบอกด้วยว่า พระเครื่องที่มีอยู่กว่าครึ่งหนึ่งส่องมากว่า 50 ปี แต่ทุกอย่างเป็นวัฎจักรอย่างกับหลักธรรมที่ว่า
เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง และดับลงในบั้นปลาย อย่าไปยึดติดว่าพระเครื่องจะเป็นของเรา และอยู่กับเราไปตลอดชีวิต ให้คิดเสียว่าเป็นสมบัติผลัดกันชม เป็นทรัพย์เป็นสมบัติของแผ่นดิน เป็นมรดกทางพุทธศาสนา ไม่มีรังพระไหนเป็นอมตะตลอดการ
สำหรับพระเครื่องที่ขายออกไปจากรังอย่างจริงจังนั้น เสี่ยดม ยอมรับว่า เมื่อ 2 ปีก่อนที่ผ่านมา แต่ก็ไม่หมดรังเสียเลยทีเดียว ยังมีอยู่จำนวนมาก เช่นเสือหลวงพ่อปาน ที่มีอยู่กว่า 30 ตัวยัง ไม่เคยขายออกไป เมื่อต้องขาย
พระออกไปแน่นอนที่สุดว่าย่อมมีความเสียดายเป็นธรรมดา
ซึ่งเมื่อครั้งที่ไปซื้อพระเครื่องที่เจ้าของหวงมาก ๆ
ก็คิดอยู่เหมือนกันว่าจะหวงไปทำไม แต่มาวันนี้ก็กลายเป็นว่า คนอื่นมาซื้อพระองค์ที่รักองค์ที่หวงไป ทำให้หวนนึกถึงวันที่ไปซื้อพระจากคนอื่น
อย่าไปยึดติดว่าพระเครื่องจะเป็นของเรา และอยู่กับเราไปตลอดชีวิต ให้คิดเสียว่าเป็นสมบัติผลัดกันชมเป็นทรัพย์เป็นสมบัติของแผ่นดิน เป็นมรดกทางพุทธศาสนา
|