อดีตพระอำนวย นนทิโย ลูกศิษย์ก้นกุฎิที่ปรนนิบัติ อาจารย์ทิม จนนาทีสุดท้าย
อดีตพระอำนวย นนทิโย ลูกศิษย์ก้นกุฎิที่ปรนนิบัติ อาจารย์ทิม จนนาทีสุดท้าย
วัดช้างให้ เกี่ยวข้องกับพระครูวิสัยโสภณ อย่างไร
เพื่อให้ท่านที่ยังไม่ทราบจะได้ทราบประวัติวัดช้างให้ไว้โดยสังเขป วัดช้างให้นี้เดิมทีเป็นวัดร้าง
และใครเป็นคนสร้าง สร้างเมื่อไหร่ สืบถามคนเฒ่าคนแก่ก็ไม่มีใครรู้ เพียงแต่เล่าสืบต่อ ๆ
กันมาว่าวัดร้าง และร้างเมื่อไหร่ก็ไม่มีใครรู้ สิ่งที่ปรากฏให้เห็นว่าเป็นวัดก็คือมีหินก้อนใหญ่โผล่
ขึ้นมาจากพื้นดินตั้งอยู่ ๔ ทิศ ซึ่งสันนิษฐานว่าลูกนิมิตเป็นเครื่องหมายบอกให้รู้ว่าที่ตรงนี้เป็น
เขตพัทธสีมา (ที่โบสถ์เก่า) และสิ่งที่ไม่ร้างไปตามวัตถุ คือสถูปหลวงพ่อทวด
ชาวบ้านพื้นเมืองที่นั้นเรียกว่าเขื่อนพ่อท่านเหยียบน้ำทะเลจืดวัดช้างให้
(คำว่าเขื่อนเป็นภาษาทางใต้ ที่แท้ก็คือสถูปนั่นเอง)
มีไม้แก่นปักเป็นหลักเป็นเครื่องหมายว่าที่ตรงนี้เป็นที่บรรจุอัฐิสถูปหลวงพ่อทวด
มีผู้คนไปกราบไหว้อยู่เสมอและทุก ๆ ปีชาวบ้านใกล้เคียงไปทำบุญตักบาตรเป็นประจำปี
ใครเจ็บไข้ได้ป่วยหรือวัวควายหายก็จะพากันไปบนบานที่สถูปแห่งนี้
พ.ศ. ๒๔๘๐ ท่านพระครูมนุญสมณการ วัดพลานุภาพ ได้ชักชวนชาวบ้านใกล้เคียงไปทำการแผ้วถาง
จัดการบูรณะให้เป็นวัดขึ้น และได้ให้พระช่วง วัดพลานุภาพ พร้อมด้วยพระอนุจรไปอยู่จำพรรษา
มีคุณโยมยี่เหนี่ยว เศรษฐีนี ตลาดปัตตานี เป็นผู้อุปถัมภ์ คุณโยมยี่เหนี่ยวผู้นี้ได้ให้ความอุปถัมภ์
วัดนี้มาจนถึงสมัยพระครูวิสัยโสภณเป็นเจ้าอาวาสแล้วก็ยังให้ความอุปถัมภ์ตลอดมาจนถึงแก่กรรม
ได้สร้างกุฏิขึ้น ๒-๓ หลัง ศาลาการเปรียญ ๑ หลัง ต่อมาเมื่อต้นปี ๒๔๘๔ พระช่วง ได้ลาสิกขาบท
ในกลางปี พ.ศ. ๒๔๘๔ นั่นเอง นายบุญจันทร์ อินทกาศ กำนันตำบลบ้านไร่
พร้อมด้วยทายกทายิกาวัดช้างให้ได้ไปหาพระอธิการแดง ธมฺมโชโต คือพระครูภัทรกรณ์โกวิท
เจ้าอาวาสวัดนาประดู่ ขอพระที่มีอายุพรรษาพอสมควรไปเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้ พระครูภัทรกรณ์โกวิท
ได้ให้พระทิม คือพระครูวิสัยโสภณ ไปอยู่วัดช้างให้ตามที่ชาวบ้านขอมา พระทิมคือพระครูวิสัยโสภณได้ไป
อยู่วัดช้างให้เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ วันอังคารขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ รุ่งขึ้นวันเข้าพรรษาต้น
พระครูวิสัยโสภณ ไปอยู่วัดช้างให้ในขั้นแรกก็ไป ๆ มา ๆ อยู่กับวัดนาประดู่
เพราะเป็นครูสอนนักธรรมอยู่ที่วัดนาประดู่ท่านพระครูมาอยู่วัดช้างให้ประมาณ ๕-๖ เดือน
ก็เกิดสงครามทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นไทยจนกลายเป็นสงครามโลก
รถไฟสายใต้วิ่งจากหาดใหญ่ไปสุไหงโกลกชายแดน ขนทหารและทัพสัมภาระผ่านหน้า
วัดช้างให้วันละหลาย ๆเที่ยวหลายขบวน ประชาชนพากันแตกตื่นหวาดกลัวภัยสงคราม
ไม่เป็นอันจะทำมาหากินวัดช้างให้ก็ยังอยู่ในสภาพเดิมยังมิได้บูรณะจัดการก่อสร้างสิ่งใดแม้แต่น้อย
การไปมาหาสู่กันระหว่างสงครามก็เป็นการยากลำบาก หนทางใกล้ทำให้ไกล
หนทางไกลยิ่งไปไม่ถึง ยวดยานต่าง ๆ ก็ตกอยู่ในกำมือทหารหมด
ผู้คนที่พลัดพรากจากกันในระยะต้นสงครามที่มีความห่วงใย
ซึ่งกันและกันหากจะติดต่อพบกันหรือไปเยี่ยมเยียนก็ต้องเดินเท้า
วัดช้างไห้ซึ่งตั้งติดอยู่กับทางรถไฟเป็นทางผ่านไปจังหวัดยะลาและนราธิวาส
และชายแดน พระครูทิม หรือพระครูวิสัยโสภณ เจ้าอาวาสต้องรับภาระหนัก
ด้วยการให้ที่พักจัดหาอาหารเลี้ยงดูผู้คนที่มาพักอาศัยในระหว่างเดินทางไม่เว้นแต่ละวัน
ข้อนี้นับว่าเป็นคุณธรรมประการหนึ่งของท่านพระครูวิสัยโสภณ
ที่นี่น้ำใจเผื่อแผ่ตั้งแต่ครั้งกระโน้นมาจนกระทั่งถึงมรณภาพ อัธยาศัยเมตตาปราณีนี้มิได้เปลี่ยนแปลง
หลวงพ่อทวดกับท่านพระครูวิสัยโสภณ นับตั้งแต่วันที่ท่านเข้าไปอยู่วัดช้างไห้ ท่านพระครูได้
ตบแต่งสถูปที่บรรจุอัฐิหลวงปู่ทวดให้เป็นที่น่าเคารพบูชาขึ้น มีการทำบุญทักษิณานุปทาน
อุทิศส่วนกุศลให้ท่านสมภารเจ้าวัดที่ล่วงลับไปแล้ว ท่านพูดเสมอว่าเมื่อไปอยู่ในที่
ใดต้องเคารพบูชาเจ้าของถิ่นนั้น แม้ท่านเหล่านั้นจะล่วงดับขันธ์ไปแล้วก็ตาม
ปฎิปทาของท่านพระครูมีการอ่อมน้อมถ่อมตนต่อพระเถระทุกระดับตลอดถึงเพื่อนสหธรรมด้วยกัน
เมื่อ พ.ศ. 2495 ท่านพระครูดำริที่จะสร้างอุโบสถเพื่อให้เป็นที่ทำสังฆกรรมของพระสงฆ์จึงได้
กำหนดเอาวันที่ 6 สิงหาคม 2465เป็นวันวางศิลาฤกษ์ การก่อสร้างได้ดำเนินมาประมาณหนึ่งปีเศษ
ได้แค่หล่อเสากำแพงผนังอุโบสถโดยรอบ การก่อสร้างก็ต้องหยุดพักลงประมาณ 6-8 เดือน
เพราะไม่มีเงินในการดำเนินการต่อไป
สร้างพระเครื่องหลวงพ่อทวด ท่านพระครูได้ปรึกษาหารือกับท่านนอง ธมมภูโต
คือพระครูธรรมกิจโกศลเจ้าอาวาสวัดทรายขาวองค์ปัจจุบันนี้ ต่างก็เห็นชอบด้วย
และในเวลาเดียวกันนั้นนายอนันต์ คณานุรักษ์ คหบดีตลาดปัตตานี ซึ่งสนใจในเรื่องนี้อยู่แล้ว
ขอรับภาระให้ความอุปถัมภ์ในการสร้างพระเครื่องนี้ทั้งหมด เกี่ยวกับทุนในการดำเนินการ
พระครูธรรมกิจโกศลพร้อมด้วย พระเณรวัดนาประดู่ วัดทรายขาวและวัดช้างไห้
รับภาระจัดการหาว่านชนิดต่าง ๆ เท่าที่ต้องการมาให้ (เรื่องการสร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อทวด ความละเอียดปรากฎอยู่ในหนังสือประวัติการสร้างพระเครื่องหลวงพ่อทวดนั้นแล้ว)
ที่นำเรื่องนี้มากล่าวไว้ในประวัติของท่านด้วยก็เพื่อต้องการให้ท่านที่ยังไม่รู้จักท่านพระครูวิสัยโสภณ
จะได้รู้ประวัติของท่านไว้เพื่อเป็นเครื่องเตือนจิตสะกิดใจสำหรับท่านที่มีพระเครื่องหลวงพ่อทวด
ไว้บูชาตลอดทั้งพระสงฆ์สามเณรที่อยู่ในวัดช้างไห้จะได้สำนึกในพระคุณความดีและ
ปฎิปทาของท่านพระครูผู้ปลุกหลวงพ่อทวดให้ตื่นซึ่งยังผลให้เกิดเสนาสนะสัปปยะ
และอาหารสัปปายะอย่างสบายแก่พระสงฆ์สามเณรในวัดช้างไห้อยู่ทุกวันนี้รวมทั้งบุคคลอื่น ๆ
ที่มีผลพลอยได้จากท่านที่ไปสักการะบูชาหลวงพ่อทวดไม่เว้นแต่ละวันจะได้ระลึกถึงพระคุณของท่าน
วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2467 ขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 ปีมะเมีย จ.ศ. 1316
เวลาเที่ยงตรงเป็นเวลาท่านพระครูกดพระเครื่องเข้าเป้าพิมพ์และ
ลงมือทำพระเครื่่องไปโดยลำดับ พระครูธรรมกิจโกศล (นอง ธมมภูโต)
เป็นผู้หนึ่งที่ประจำโรงพิธีร่วมอยู่กับท่่านอาจารย์ทิมคือพระครูวิสัยโสภณตลอดไป
นอกจากนี้พระเณรที่วัดต่างก็ช่วยกันกดพิมพ์พระเครื่องตามที่ท่านพระครูสั่งให้ทำจนวันที่ 15 เมษายน
2497 ได้พระเครื่องตามที่ทท่านพระครูสั่งให้ทำจนถึงวันที่ 15 เมษายน 2497
ได้พระเครื่อง 64,000 องค์ จะพิมพ์ให้ได้ 84,000 องค์
แต่เวลาไม่พอด้วยว่าจะทำการปลุกเสกในวันที่ 18 เมษายน 2497
วันอาทิตย์เพ็ญเดือน 5 เวลาเที่ยง เมื่อได้ฤกษ์ตามที่ท่านกำหนด
ไว้ท่านพระครูเข้านั่งประจำที่ประกอบพิธีเสกองค์เดียวจนถึงเวลา 16.00 น.
ของวันเดียวกันนั้นแล้วต่อจากนั้นท่านก็มอบพระเครื่อง
ให้แก่ผู้ที่เคารพนับถือคนละหนึ่งองค์
เป็นที่น่าสังเกตุว่า การประกอบพิธีปลุกเสกพระเครื่องหลวงพ่อทวด
ท่านพระครูประกอบพิธีปลุกเสกเพียงองค์เดียวเท่านั้น
พระเครื่องหลวงพ่อทวดมีชื่อเสียงดังไปทั่วประเทศเข้าใจว่า
ทั้งนี้เนื่องจากท่านผู้ปลุกเสกมีพลังจิตสูง มีเมตตาสูง และผู้สร้างมิได้มีจิต
คิดหาลาภผลทางวัตถุแต่อย่างใด ตั้งใจให้เป็นเครื่องสักการะบูชา
ของผู้ที่เคารพนับถือจริง ๆ แม้การสร้างพระเครื่องสมเด็จที่เรา
เรียกว่า พระสมเด็จวัดระฆังก็ดี สมเด็จวัดใหม่อมตรส บางขุนพรหมก็ดี
ปรากฏว่าเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒธาจารย์ (โต พรหมรังสี)
เป็นผู้สร้างปลุกเสกของท่านเองและสมเด็จผงวัดสามปลื้มก็เช่นเดียวกัน
ปรากฏว่าท่านเจ้าคุณพระพุฒธาจารย์ (บุญมา) เป็นผู้สร้างปลุกเสกองค์เดียว
ท่านอาจารย์ทิม หรือท่านพระครูวิสัยโสภณ ได้ปลุกเสกหลวงพ่อทวดให้ตื่นขึ้น
ในระยะเวลา 20 ปีมานี้ ทำให้ผู้คนรู้จักวัดช้างไห้ รู้จักพระเครื่องหลวงพ่อทวด
แห่งจังหวัดปัตตานี แม้ว่าบางคนไม่เคยไปวัดช้างไห้แต่ก็รู้จักในชื่อได้ดี
เมื่อท่านพระครูหรือท่านอาจารย์ทิมมรณภาพไปเสียแล้วเช่นนี้
ต่อไปหลวงพ่อทวดจะตื่นอยู่เหมือนอย่างท่านอาจารย์ทิม ยังมีชีวิตหรือไม่
ก็เป็นเรื่องไม่มีใครพยากรณ์ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับความเป็นอนิจจัง
สิ่งที่แน่นอนที่สุดคือเรื่องอดีตที่ล่วงมาแล้ว ท่านอาจารย์ทิมหรือพระครูวิสัยโสภณ
เราได้เห็นท่านแล้ว ท่านมีคุณธรรมความเมตตาสูงมา
มีปฎิปทาน่าเลื่อมใส เสมอต้นเสมอปลายไม่ขึ้น ๆ ลงง ๆ หรือเห่อเหิมไป
ตามความนิยมสรรเสริญของโลก แม้ว่าท่านจะหวั่นไหวไปบ้างในบางครั้ง
บางคราวตามวิสัยปุถุชนก็เพียงแต่เล็กน้อย เหมือนลมพัดถูกใบไม้จะไหว
ก็เพียงใบและกิ่งก้านเท่านั้น หาได้สะเทือนถึงลำต้นไม่
ในคราวที่ท่านถูกปลดออกจากเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2505
ฐานมีความผิดไม่อนุญาตในการปลุกเสกพระเครื่องหลวงพ่อทวดเนื้อโลหะ
ซึ่งมีพระองค์เจ้าเฉลิม พลฑิฆัมพร เป็นองค์อุปถัมภ์ในประธานในพิธี
ท่านก็มิได้แสดงอาการออกให้เห็นว่าเสียอกเสียใจอย่างไร
ใครถามท่าน ท่านก็ตอบว่าดีแล้วไม่ต้องรับภาระ พระครูไพโรจน์
ธรรมรัตได้นำท่านไปอยู่กับท่านที่วัดเมืองยะลา ครั้นล่วงได้ 7 วัน
ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสตามเดิม ท่านก็รับเข้าเป็นเจ้า
อาวาสอีกโดยไม่ปฎิเสธ แสดงว่าเป็นพระที่ว่าง่ายสอนง่าย
ท่านพระครูมรณภาพด้วยโรคมะเร็งที่หลอดอาหาร
ท่านพระครูได้เริ่มอาพาธมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 หลังจากเริ่มก่อสร้างพ%A