ประวัติหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
ประวัติหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
หลวงปู่ทวด (หรือ สมเด็จเจ้าพะโคะ, หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด, สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามี รามคุณูปรมาจารย์) เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทยจากตำนานท้องถิ่นซึ่งยังไม่ปรากฏหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ยืนยันความมีอยู่จริง ประวัติที่พิมพ์เผยแพร่กล่าวว่า ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รูปสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้ที่ศรัทธาในหลวงปู่ทวดเชื่อกันว่า พระเครื่องที่สร้างเนื่องด้วยท่านจะมีอานุภาพสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองผู้มีพระเครื่องหลวงปู่ทวดในครอบครอง ปัจจุบันหลวงปู่ทวดถือได้ว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ ในตำนานที่มีผู้ศรัทธาจำนวนมาก รูปสำคัญ 1 ใน 2 มหาเกจิอาจารย์ของเมืองไทยคู่กับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) (หลวงปู่โต) ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์
ประวัติ ตามตำนานกล่าวว่าหลวงปู่ทวด เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ซึ่งเป็นทาสในเรือนเบี้ย (ทาสทำงานใช้หนี้) ของเศรษฐีปานเกิดในรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2125 ณ บ้านสวนจันทร์ (บ้านเลียบ) ต.ดีหลวง (ปัจจุบันเป็นตำบลชุมพล) อ.สทิงพระ (จะทิ้งพระ) จ.สงขลา แรกเกิดมีชื่อว่าปู ขณะท่านเกิดมีเหตุอัศจรรย์คือเกิดฟ้าร้องฟ้าผ่าแผ่นดินสะเทือนเลื่อนลั่นเสมือนหนึ่งว่ามีผู้มีบุญญาธิการมาเกิด เมื่อตัดรกจากสายสะดือแล้วนายหูบิดาของท่านก็นำรกของท่านไปฝังไว้ที่โคนต้นเลียบ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ต้นเลียบในปัจจุบัน เมื่อท่านเกิดมาแล้วก็มีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นกับท่านเรื่อยมา เป็นต้นว่า ขณะที่ท่านอยู่ในวัยแบเบาะในช่วงฤดูเกี่ยวข้าวบิดามารดา ของท่านต้องออกไปเกี่ยวข้าวที่กลางทุ่งนาซึ่งเป็นนาของเศรษฐีปาน ซึ่งท้องนาแห่งนั้นห่างจากบ้านประมาณ 2 กิโลเมตร ที่นาแห่งนั้นมีดงตาลและมะเม่าเป็นจำนวนมากครั้งนั้นจึงเรียกว่าทุ่งเม่า ปัจจุบันตั้งเป็นสำนักสงฆ์ชื่อนาเปล ในสมัยนั้นจึงมีสัตว์ป่าชุกชุมพอสมควร บิดามารดาของท่านจึงผูกเปลของท่านซึ่งเป็นเปลผ้าไว้กับต้นมะเม่าสองต้นและก็ได้เกี่ยวข้าวอยู่ไม่ไกลจากบริเวณนั้น พอได้ระยะเวลาที่นางจันทร์ต้องให้นมลูก นางจันทร์จึงเดินมาที่ที่ผูกเปลของลูกน้อย และก็เห็นงูจงอางตัวใหญ่หรืองูบองหลาที่ชาวภาคใต้เรียกกันพันที่รอบเปล นางจันทร์เห็นแล้วตกใจเป็นอันมากจึงเรียกนายหูซึ่งอยู่ไม่ไกลนักมาดูและช่วยไล่งูจงอางนั้น แต่งูจงอางนั้นก็คลายวงรัดออกและเลื้อยหายไปในป่า นายหูและนางจันทร์จึงเข้าไปดูลูกน้อยเห็นว่ายังหลับอยู่และไม่เป็นอันตรายใด ๆ และปรากฎว่ามีเมือกแก้วขนาดใหญ่ที่งูจงอางคลายไว้อยู่บนอกเด็กชายปูนั้น เมือกแก้วนั้นมีแสงแวววาวและต่อมาได้แข็งตัวเป็นลูกแก้ว ปัจจุบันได้ประดิษฐานที่วัดพะโคะ เมื่อเศรษฐีปานทราบเรื่องเข้าก็บีบบังคับขอลูกแก้วเอาจากนายหูและนางจันทร์ บิดามารดาของท่านจึงจำต้องยอมให้ลูกแก้วนั้นแก่เศรษฐีปานซึ่งเป็นนายเงิน แต่ลูกแก้วนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิ์ประจำตัวท่าน เมื่อเศรษฐีปานเอาลูกแก้วไปแล้วก็เกิดเภทภัยในครอบครัวเกิดการเจ็บป่วยกันบ่อยและมีฐานะยากจนลง เศรษฐีปานจึงได้เอาลูกแก้วมาคืนและขอขมาเด็กชายปู และยกหนี้สินให้แก่นายหูและนางจันทร์ ทั้งสองจึงพ้นจากการเป็นทาสและต่อมาก็มีฐานะดีขึ้น ๆ ส่วนเศรษฐีปานก็มีฐานะดีขึ้นดังเดิม เมื่อท่านมีอายุได้ประมาณ 7 ขวบ พ.ศ.2132 บิดามารดาของท่านจึงนำท่านไปฝากไว้เป็นศิษย์วัดเพื่อเล่าเรียนหนังสือที่วัดกุฏิหลวงหรือวัดดีหลวงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้านท่าน ขณะนั้นมีท่านสมภารจวง ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ เด็กชายปูเป็นเด็กที่หัวดีเรียนเก่งสามารถเล่าเรียนภาษาขอมและภาษาไทยได้อย่างรวดเร็ว สมภารจวงได้บวชให้ท่านเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 15 ปี ตอนที่ท่านบวชเป็นสามเณรนี้เอง บิดาของท่านจึงถวายลูกแก้วคืนให้แก่ท่านเป็นลูกแก้วประจำตัวท่านต่อไป ด้วยความที่เป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ตลอดเวลาของท่าน ต่อมาท่านสมภารจวงได้นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสือที่สูงขึ้น สมัยนั้นเรียกว่ามูลบทบรรพกิจ ปัจจุบันก็คือเรียนนักธรรมนั่นเอง โดยนำไปฝากเรียนไว้กับสมเด็จพระชินเสน ซึ่งเป็นพระเถระชั้นสูงที่ส่งมาจากกรุงศรีอยุธยาให้มาครองเป็นเจ้าอาวาสวัดสีคูยังหรือวัดสีหยังในปัจจุบัน ห่างจากวัดดีหลวงไปทางเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร ท่านได้เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและจบหลักสูตรที่วัดสีคูยังนั้น หลังจากนั้นท่านได้เดินทางเข้ามาศึกษาต่อที่เมืองนครศรีธรรมราชเพื่อเรียนหนังสือให้สูงขึ้นโดยมาพำนักอยู่ที่วัดเสมาเมือง ซึ่งเป็นสำนักเรียนและมีสมเด็จพระมหาปิยะทัสสี เป็นเจ้าอาวาส และบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ ์เมื่ออายุครบกาลอุปสมบท ท่านได้ศึกษาวิชาจากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ จนมีความรู้และเป็นผู้ทรงอภิญญามาก และได้แสดงปาฎิหาริย์หลายครั้ง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากสมเด็จพระเอกาทศรศในครั้งสุดท้ายในราชทินนามที่สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์ เมื่อท่านมีอายุได้ 80 ปี ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดพะโคะ วัดบ้านเกิดของท่าน ต่อมาท่านได้สั่งเสียกับลูกศิษย์ว่าเมื่อท่านมรณภาพให้นำพระศพท่านไปไว้ที่วัดช้างไห้ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ต่อไปสถานที่ข้างหน้าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้คนมาเที่ยว หลวงปู่ทวด ได้ละสังขารด้วยโรคชราในปลายรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2225 ที่เมืองไทรบุรี สิริอายุได้ 100 ปี นับพรรษาได้ 80 พรรษา
อังคารขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 15 กรกฎาคม พุทธศักราช 2484
เป็นวันปฐมฤกษ์ที่ พระทิม ธัมมโร ได้ย้ายมาพำนักอยู่ที่วัดช้างไห้ จ.ปัตตานี ไม่มีใครจะคาดคิดว่าต่อจากนั้นไม่นานปาฎิหาริย์ก็ได้
เกิดขึ้น เป็นมหาปาฏิหาริย์ที่จารึกประวัติศาสตร์แห่งวัตถุมงคล นามอุโฆษ “หลวงปู่ทวดเหยียบนำ้ทะเลจืด” เป็นพระเครื่องที่ไม่มีใครเลย
สัมผัสองค์จริง เพราะท่านมีชีวิตอยู่ในรัชสมัยแห่งกรุงศรีอยุธยา ที่มาของพระเครื่องหลวงปู่ทวดที่ได้รับการเคารพศรัทธาปสาทะสูงสุด
จากผู้คนทั่วแผ่นดินเป็นอัศจรรย์ปาฎิหาริย์ตามภาพนิมิตที่มาเข้าฝันพระอาจารย์ทิม ธัมมธโร มีตำนานที่เล่าขานสืบต่อ ๆ กันมาว่า
สมเด็จพะโคะ หรือหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ขณะพำนักอยู่ที่วัดในไทรบุรี ได้พูดต่อหน้าลูกศิษย์อุบาสกอุบาสิกา ว่าหากท่านมรณภาพเมื่อใดก็ขอให้ช่วยหามศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างไห้ด้วย ระหว่างทางได้มีการนำศพหยุดพักตามรายทาง
เมื่อหยุดพัก ณ ที่ใดก็มีการทำเครื่องหมายโดยการปักไม้แก่นไว้ทุกแห่ง พร้อมกับพูนดินให้สูงขึ้น จนปัจจุบันสถานที่ดังกล่าว
จำนวน 11 จุด ได้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้แก่ วัดโกระไหน บาลิง ดังไกว คลองช้าง ดังแปร ลำปรำ ปลักคล้า คลองสาย
ไทรบูดอ ควนเจดีย์ (สะบ้าย้อย) และสุดท้ายคือ วัดช้างไห้ ที่วัดช้างไห้ ชาวบ้านที่นี่เรียกสถานที่ที่บรรจุอัฐิของท่านว่า “เขื่อน” ซึ่งก็คือ
สถูปศักดิ์สิทธิ์ หรือ “เขื่อนท่านช้างไห้” ซึ่งแต่เดิมมีเพียงเสาไม้แก่นปักเป็นที่หมายไว้เท่านั้น ต่อมาเมื่อพระอาจารย์ทิมได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 4 ก็ได้ดำเนินการบูรณะก่ออิฐถือปูนเพื่อห่อหุ้มเสาไม้แก่นอันเดิมไว้ด้านใน จวบจนปัจจุบัน เขื่อนท่านช้างไห้
มีอายุยืนยาว นับเป็นเวลานานกว่า 300 ปี ความศักดิ์สิทธิ์ของสถูปบรรจุอัฐิของหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดนั้นเป็นที่เล่าลือของ
ชาวบ้านในย่านนั้นมาช้านาน ใครมีเรื่องทุกข์ใจเป็นโรคป่วยไข้ก็พากันมากราบสักการบูชา ขอให้ท่านช่วยขจัดเป่าบรรเทาเภทภัย
ขับไล่สิ่งชั่วร้าย ซึ่งก็มักจะสำเร็จสมประสงค์ตามที่ตั้งจิตอธิษฐานขอพร มีเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นหลังจากพระอาจารย์ทิม ธัมมธโร
ฝันว่าได้พบหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด วันรุ่งขึ้นจึงหยิบเอาก้นเทียนที่ตกอยู่ริมสถูปหลวงปู่ทวดมาคลึงปั้นเป็นก้อนกลมแล้วแจก
ให้เด็กวัดไปโดยไม่คิดอะไร เด็ก ๆ ที่ได้ลูกอมก้นเทียนก็ลองอมในปาก แล้วลองฟันด้วยมีดพร้ามีคม แต่เกิดอัศจรรย์ฟันแทงไม่เข้า
ความเรื่องนี้ทราบถึงพระอาจารย์ทิมจึงเรียกประชุมลูกศิษย์มาอบรมสั่งสอนและห้ามทดลองแบบนั้นอีก อีกเหตุการณ์หนึ่งที่บันทึกไว้
โดยนายอนันต์ คุณานุรักษ์ว่า หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดโกรธทหารญี่ปุ่นที่ใช้รถไฟไทยขนสัมภาระยุทธปัจจัยแล่นเข้ากลับไป โจมตีสิงคโปร์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีอยู่วันหนึ่งตรงกับเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 เวลาประมาณ 15.00 น. เมื่อขบวนรถไฟ
ซึ่งแล่นจากสุไหงโกลกมาถึงหน้าวัดก็เกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ขึ้น เมื่อหัวรถจักรมาหยุดสนิทตรงกับบริเวณที่ตั้งสถูปหลวงปู่ทวด
ทำให้รถไฟถูกตรึงอยู่กับที่ ทั้ง ๆ ที่ล้อก็ยังหมุนจนเกิดประกายไฟแดงฉาน เป็นอัศจรรย์ที่ชาวบ้านเล่าขานสืบต่อ ๆ กันมา ด้วยเจตนาอันแรงกล้าที่จะบูรณปฏิสังขรณ์และพัฒนาวัดช้างไห้ให้เจริญรุ่งเรือง พระอาจารย์ทิมจึงดำริจัดสร้้างพระอุโบสถขึ้นใหม่
แทนหลังเก่าที่ทรุดโทรม ในการนี้จำเป็นต้องใช้ทุนทรัพย์จำนวนมากเป็นปัจจัยในการก่อสร้าง ทำให้เมื่อดำเนินการมาได้ระยะหนึ่ง การก่อสร้างก็สะดุดลงเนืื่องจากขาดปัจจัย แต่ก็มีเรื่องราวมากมายบนโลกนี้ที่เกิดขึ้นเพราะโชคชะตาฟ้าลิขิต
เมื่อวันหนึ่ง นายอนันต์ คุณานุรักษ์ ได้นิมิตจากหลวงปู่ทวดว่า เขื่อนซึ่งเป็นที่บรรจุอัฐิของเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดมีความสัมพันธ์
กับหลวงปู่ทวด หลวงปู่ทวดที่ปรากฏในฝันยังได้มอบยาชนิดหนึ่งให้กินพร้อมกับได้สวมมงคลรัดศรีษ%E